แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้นขนาด6โวลท์

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้นเครื่องกวาดพื้น

แบตเตอรี่ Deepcycle 6 โวลท์

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้น6โวลท์

  ♦ ใช้ กับเครื่องขัดพื้น และเครื่องกวาดพื้นอัตโนมัติอาจ ใช้แบตเตอรี่ ขนาด 12 โวลท์ 24 โวลท์ และ 36 โวล์ท ซึ่งอาจจะใช้เป็นแบตเตอรี่ก้อนละ 12 โวล์ท 1 ก้อน หรือก้อนละ 12 โวล์ท 2 ก้อนรวมเป็น 24 โวล์ท หรือแบตเตอรี่รวม 36 โวล์ท คือ 6 โวล์ท 6 ก้อน หรืออาจจะเป็นก้อนละ 12 โวล์ท 3 ก้อน รวมเป็น 36 โวล์ท และแอมป์ที่เครื่องต้องใช้ตามสเปคของเครื่อง

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้นเครื่องกวาดพื้น

แบตเตอรี่ Deepcycle 12 โวล์ท

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้น12โวลท์

  ♦ ใช้ กับเครื่องขัดพื้น และเครื่องกวาดพื้นอัตโนมัติอาจ ใช้แบตเตอรี่ ขนาด 12 โวล์ท 24 โวล์ท และ 36 โวล์ท ซึ่งอาจจะใช้เป็นแบตเตอรี่ก้อนละ 12 โวล์ท 1 ก้อน หรือ ก้อนละ 12 โวล์ท 2 ก้อน รวมเป็น 24 โวล์ท หรือ แบตเตอรี่รวม 36 โวล์ท

คือ 6 ก้อน หรืออาจจะเป็นก้อนละ 12 โวล์ท 3 ก้อน รวมเป็น 36 โวล์ท และแอมป์ที่เครื่องต้องใช้ตามสเปคของเครื่อง

เครื่องชาร์จแบตเตอรี่

เครื่องชาร์แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้น

  ♦ การคำณวนเพื่อหาเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่ เหมาะสมไม่ควรเกิน 15 % ของค่าแอมป์ของแบตเตอรี่ โดยนำค่าแอมป์ Ah ของแบตเตอรี่คูณ 13 – 15 % จะได้ค่าแอมป์ของเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ การชาร์จแบตเตอรี่แบบช้าจะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ยิ่งใช้ระบบชาร์จเร็วมากเท่าไรแบตเตอรี่ก็จะยิ่งเสื่อมเร็ว ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ขนาด 105 Ah x 13 % = 13.65 หมายถึง เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่เหมาะสมต้องไม่เกิน 13.65 แอมป์ ทั้งแบบ 12 โวลท์ และ 24 โวลท์

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้นขนาด12โวลท์

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้นเครื่องกวาดพื้น

แบตเตอรี่ Deepcycle 12 โวล์ท

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้น12โวลท์

  ♦ ใช้ กับเครื่องขัดพื้น และเครื่องกวาดพื้นอัตโนมัติอาจ ใช้แบตเตอรี่ ขนาด 12 โวล์ท 24 โวล์ท และ 36 โวล์ท ซึ่งอาจจะใช้เป็นแบตเตอรี่ก้อนละ 12 โวล์ท 1 ก้อน หรือ ก้อนละ 12 โวล์ท 2 ก้อน รวมเป็น 24 โวล์ท หรือ แบตเตอรี่รวม 36 โวล์ท

คือ 6 ก้อน หรืออาจจะเป็นก้อนละ 12 โวล์ท 3 ก้อน รวมเป็น 36 โวล์ท และแอมป์ที่เครื่องต้องใช้ตามสเปคของเครื่อง

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ แบตฯจะมีมีอายุการใช้งานประมาณ 500 Cycles การชาร์จ 1 ครั้ง คือ 1 Cycle เท่ากับว่าแบตเตอรี่สามารถชาร์จได้ประมาณ 500 ครั้ง แต่การชาร์จที่ไม่ถูกวิธีหรือการชาร์จบ่อยๆจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงเช่น ถ้าใน 1 ปี (365 วัน) ใช้งาน 250 วัน วันละ 1 ครั้ง เท่ากับแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี แต่ถ้าใช้งานวันละ 2 กะหรือชาร์จ วันละ 2 ครั้งจะมีผลคือ 1. การชาร์จจะเป็นแบบอัดชาร์จเร็วทำให้แบตเสื่อมเร็ว 2. Cycle time ก็จะลดลงไปอีกเท่ากับ 1 ปี ชาร์จไปแล้ว 500 Cycle ซึ่งทำให้แบตฯเสื่อมคุณภาพลง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่

1. เกย์บอกระดับของแบตเตอรี่ส่วนใหญ่จะแม่นยำ ควรใช้งานทุกระบบ

2. การคำนวณเพื่อหาเครื่องชาร์จที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 20 %ของค่าแอมป์ของแบตเตอรี่ โดยนำค่าแอมป์ Ah ของแบตเตอรี่คูณ13-15% จะได้ค่าแอมป์ของเครื่องชาร์จ การชาร์จแบบช้าจะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ยิ่งใช้ระบบชาร์จเร็วมากเท่าไหร่แบตฯก็จะยิ่งเสื่อมเร็ว ตัวอย่าง เช่น แบตฯขนาด 105 Ah x 13% = 13.65 หมายถึงเครื่องชาร์จที่เหมาะสมต้องไม่เกิน 13.65 แอมป์ ทั้งแบบ 12โวลท์และ24 โวลท์

3. ในการชาร์จแบตฯครั้งแรก แบตฯจะชาร์จได้เต็มแค่ 95 % ครั้งที่2 -96% ครั้งที่3-97% ครั้งที่4-98% ครั้งที่5-99% และในครั้งที่6-100% ซึ่งหมายถึงแบตฯต้องผ่านการกระตุ้นอย่างน้อย 6 ครั้งจึงจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

4. เสปคแอมป์อาว Ah ของแบตเตอรี่ที่แจ้งมาจากโรงงาน จะใช้งานจริงได้แค่ 80%ของที่ระบุไว้ เช่น แบตฯ 100Ah การใช้งานจริงคือ 80% = 80 Ah เท่านั้น ซึ่งเสปคก็จะมีหลายขั้น เช่น 105 Ah,120 ,Ah 175Ah,225 Ah, 275 Ah,325 Ah, 375 Ah, 395 Ah เป็นต้น

5. เวลาที่ใช้ในการชาร์จแบตฯที่เหมาะสมอย่างน้อยต้อง 2-3 เท่า ของเวลาที่ใช้ไป เพื่อถนอมแบตฯและยืดอายุการใช้งาน

6. ถ้าต้องการยืดอายุแบตเตอรี่ เมื่อซื้อแบตเตอรี่ใหม่ๆเมื่อใช้งานไปแล้ว 40 % ควรชาร์จทันที ในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์แรก อย่าปล่อยให้ตกถึงขีดแดง

7. เมื่อผ่านระยะ 1-2 สัปดาห์ไปแล้ว เมื่อใช้งานปกติแล้ว ถ้าไฟแบตเตอรี่ลดลงถึง 20 % ควรหยุดใช้งานแล้วนำไปชาร์จก่อน เพราะถ้าฝืนใช้ไปจนไฟหมด แบตฯจะเสื่อมเร็วมาก

8. แบตเตอรี่ ถ้าไม่ได้ใช้งานต้องทำการชาร์จทุกเดือน เดือนละครั้งซึ่งจะทำให้อายุการใช้งาน หรือการเก็บได้นานถึง 5-7 ปี และต้องตรวจเช้คน้ำกลั่นอยู่เสมอ

9. การทำงานของแบตฯเช่น แบตฯ 6 โวลท์ เท่ากับเซลล์ละ 2 โวลท์ คือลูกหนึ่งมี 3 เซลล์ ละ 2 โวลท์

10. น้ำกรดข้างในเกิดจากประจุจากเหล็กภายในทำปฏิกิริยากับน้ำกลั่นกลายเป็นน้ำกรด (Electroliteเป็นเหล็กชนิดพิเศษ) และจะสลายตัวบางลงเรื่อยๆทำแบตเสื่อมลงตามอายุการใช้งาน

11. แบตฯมี 2 ชนิด คือ แบตน้ำ Deep cycle ต้องเติมน้ำกลั่น และแบตเตอรี่ชนิดเจลซึ่งไม่ต้องเติมน้ำกลั่นแต่แบตฯเจลจะใช้งานได้น้อยชั่วโมงกว่าใช้เวลาชาร์จนานและมีนำหนักมากกว่า ราคาสูงกว่ามากความเสี่ยงในการระเบิดน้อยกว่า

เครื่องรุ่นต่างๆที่ใช้แบตเตอรี่ ส่วนใหญ่เครื่องของเรารุ่นแบตฯจะวิ่งได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง

แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลท์ 105-115 Ah 1 ก้อน = MACH 1 EB

แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลท์ 105-115 Ah 2 ก้อน = MACH 2, E17, E20, CB461

แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลท์ 210-225 Ah 3 ก้อน (รวม 36 โวลท์) = ER24,ER26(รถขัดนั่งขับ)

แบตเตอรี่ขนาด 6 โวลท์ 225-235 Ah 6 ก้อน (รวม 36 โวลท์) = ES2832, SCV2832

แบตเตอรี่ขนาด 6 โวลท์ 275 Ah 4 ก้อน (รวม 24 โวลท์) = APEX 49 วิ่ง 3.5 ชั่วโมงSWB73(รถกวาดนั่งขับ)

การเตรียมแบตเตอรี่

ถ้าแบตเตอรี่ทีจะใช้เป็นก้อนใหม่ยังไม่เคยใช้ และยังไม่ได้ใส่น้ำกรด ก่อนจะทำการชาร์จให้ปฏิบัติตามนี้

– เปิดฝาช่องที่จะเติมน้ำกรด จากนั้นใส่น้ำกรดซัลฟูริก (H2So4) ลงในแต่ละช่องเซลของแบตเตอรี่

– ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 3-4 ชม. เพื่อให้แผ่นเซลดูดซับ

– ตรวจดูระดับของน้ำกรดว่ายังคงที่เหนือแผ่นเซลหรือไม่ (ถ้าไม่)ให้เติมน้ำกรดเข้าไปจนทั่วเหนือแผ่นเซล

– ปิดฝาและนำแบตเตอรี่ไปชาร์จกับเครื่องชาร์จอัตโนมัติ โดยปฏิบัติตามวิธิใช้เครื่องชารร์จตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

การติดตั้งแบตเตอรี่ ทำได้ดังนี้

– เปิดฝาครอบเครื่อง โดยยกตัวล็อกฝาขึ้น

– จะเห็นแท่นแบตเตอรี่ชั้นบน และจะมีถาดวางแบตเตอรี่ ซึ่งจะมีสัญลักษณ์แสดงขั้วของแบตเตอรี่ไว้บนถาด  บวก ( + ) ลบ ( – )

– คลายสายรัดแบตเตอรี่ในชิ้นล่างออก และจัดให้ปลายสายรัดแบตเตอรี่ทั้ง 2 ข้าง แยกออกจากกัน

– วางแบตเตอรี่ลงตามสัญลักษณ์บนถาดวางชั้นล่าง

– เอาสายรัดแบตเตอรี่ม้วนรัดแบตเตอรี่ให้แน่น

– ทำการวางแบตเตอรี่อีกก้อนในชั้นบนตามแบบที่ทำในชั้นล่างและต้องวางแบตเตอรี่ให้ตรงกับสัญลักษณ์ที่แสดงไว้บนถาด

– ต่อสายระหว่างขั้วแบตเตอรี่กับปลั๊กที่จะเสียบเข้ากับเครื่องตามที่แสดงในรูป และต่อสายระหว่างขั้วแบตเตอรี่กับแบตเตอรี่ ข้อควรระวัง :ในการต่อขั้วบวก (+) เข้าปลั๊กที่จะเสียบเข้ากับเครื่องต้องให้ขั้วตรงกัน

– ในการต่อขั้วสายต่างๆ ใช้ประแจเบอร์ 10 (มิลลิเมตร) และควรจะทาจาระบีเคลือบที่ขั้วแบตเตอรี่

– ตรวจดูสวิทซ์ทั้งหมดให้อยู่ในตำแหน่งปิด ( 0 ) และต่อสายปลั๊กของแบตเตอรี่เสียบเข้ากับเต้ารับ ซึ่งอยู่ข้างบนมอเตอร์ดูด

– จากน้ำก็สามารถใช้เครื่องขัดได้ (โดยต้องศึกษาวิธีใช้อย่างถูกต้อง)

การดูแลรักษาและชาร์จ (ชนิดน้ำ)

การเติมน้ำกลั่นและชาร์จแบตเตอรี่ ทำได้ดังนี้

– เคลื่อนย้ายเครื่องขัดไว้ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี เพราะเนื่องจากแบตเตอรี่จะปล่อยไอระเหย ซึ่งอาจติดไฟได้เพราะฉะนั้นก่อนเปิดช่องฝาเติมน้ำกลั่น ต้องเคลื่อนย้ายไปพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดีทุกครั้ง

– เปิดฝาครอบเครื่องออก

– เปิดฝาเติมน้ำกลั่นของแบตเตอรี่และตรวจดูระดับน้ำกลั่น ถ้าไม่พอควรใส่ให้เติมและควรหมั่นดูแลก่อนใช้งานทุกครั้ง

– ปลดสายพ่วงปลั๊กระหว่างแบตเตอรี่กับเครื่องขัดออก และนำสายพ่วงปลั๊กไปต่อเข้ากับเครื่องชาร์จ (ข้อควรระวัง : ห้ามต่อเครื่องชาร์จเข้ากับเครื่องขัดโดยเด็ดขาด)

– แบตเตอรี่จะถูกชาร์จประจุไฟฟ้า ซึ่งการชาร์จจะต้องศึกษาวิธีใช้เครื่องชาร์จ ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

– เมื่อแบตเตอรี่จะถูกชาร์จประจุไฟฟ้าจนเต็มแล้ว ให้ตรวจสอบวัดความถ่วงจำเพาะของแบตเตอรี่ทุกก้อนให้ได้ตามที่กำหนดก่อนนำไปใช้งาน ถ้าหากมีก้อนใดไม่เต็มควรจะชาร์จให้เต็มก่อนหรือไม่สามารถเก็บประจุได้ควรจะต้องเปลี่ยน มิฉะนั้นอาจจะทำให้แบตเตอรี่ก้อนอื่นๆ เสียหายได้

– ปิดฝาเติมน้ำกลั่นของแบตเตอรี่ แล้วต่อสายปลั๊กพ่วงเข้ากับเครื่องขัดและปิดฝาครอบเครื่อง

รายละเอียดเงื่อนไขในการรับประกันแบตเตอรี่

ดังนั้น ทางบริษัท โปรไลน์ ซิสเต็ม จำกัดขอเรียนในทราบถึง เงื่อนไขในการรับประกันแบตเตอรี่ ที่เป็นมาตรฐานจากผู้ผลิต ในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

1. กรุณาอ่านคู่มือการใช้งานและการดูแลรักษาแบตเตอรี่ พร้อมทั้งปฏิบัติตามทุกครั้ง ก่อนการใช้งาน

2. แบตเตอรี่ที่ถูกใช้งานตรงตามวัตถุประสงค์ ของรุ่นและขนาดของแบตเตอรี่

3. แบตเตอรี่ ที่ได้รับการดูแลรักษา ตามคำแนะนำของตัวแทนจำหน่าย

3.1. แบตเตอรี่ได้รับการชาร์จจากเครื่องชาร์จ ที่มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมต่อการความต้องการของแบตเตอรี่ เช่น

– แบตเตอรี่Deep cycle รุ่น ขนาด 225 Ah 6 v.x6 เครื่องชาร์จ จะต้องจ่ายกระแสไฟ ไม่เกิน 20-25 แอมป์ ต่อ ชั่วโมง

– แบตเตอรี่Deep cycle รุ่น ขนาด 370 Ah 6 v.x6 เครื่องชาร์จ จะต้องจ่ายกระแสไฟ ไม่เกิน 30-48 แอมป์ ต่อ ชั่วโมง

– แบตเตอรี่Deep cycle รุ่น ขนาด 105 Ah 12 v. เครื่องชาร์จ จะต้องจ่ายกระแสไฟ ไม่เกิน 10-13 แอมป์ ต่อ ชั่วโมง

– แบตเตอรี่Deep cycle รุ่น ขนาด 130 Ah 12 v. เครื่องชาร์จ จะต้องจ่ายกระแสไฟ ไม่เกิน 13-17 แอมป์ ต่อ ชั่วโมง

– แบตเตอรี่Deep cycle รุ่น ขนาด 150 Ah 12 v. เครื่องชาร์จ จะต้องจ่ายกระแสไฟ ไม่เกิน 17-20 แอมป์ ต่อ ชั่วโมง

3.2. แบตเตอรี่ได้รับการดูแลรักษาความสะอาดของขั้วแบตเตอรี่อย่างเป็นประจำ

3.3. แบตเตอรี่ได้รับการเติมน้ำกลั่นในปริมาณที่ถูกต้อง ตลอดเวลา

3.4. แบตเตอรี่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมผสมในตัวแบตเตอรี่ เช่น น้ำเปล่า น้ำกรด หรือสารละลาย อื่นๆ นอกจากน้ำกลั่นเท่านั้น

3.5. แบตเตอรี่ถูกใช้งานกับอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ได้มาตรฐาน หรือ ตรงตามขนาด

4. แบตเตอรี่ไม่เกิดการอาร์ค หรือซ็อตบริเวณขั้วแบตเตอรี่ หรือขั้วแบตเตอรี่หักชำรุเสียหาย (แล้วแต่กรณี)

5. แบตเตอรี่ถูกเก็บ ไว้ในสถานที่ ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกในอุณหภูมิห้องที่ไม่ร้อน หรือเย็นเกินไป

6. แบตเตอรี่ ไม่มีการทะลุหรือชำรุดเสียหายบริเวณเปลือกนอก ของแบตเตอรี่

7. ในกรณีที่เกิดความผิดปกติของแบตเตอรี่ ให้แจ้งตัวแทนจำหน่าย ก่อนการถอด หรือกระทำการใดๆ

8. ในกรณีที่นำแบตเตอรี่ ไปใช้กับเครื่อง Floor Machine ในลักษณะงาน Cleaning เงื่อนไขในการรับประกันจะไม่คลอบคลุมถึงการให้งานแบบ Over Charge คือมีการชาร์จซ้ำๆ มากกว่า 2-3 ครั้งต่อวัน

9. ในกรณีที่นำแบตเตอรี่ รุ่น 27 TMX ไปใช้กับเครื่อง Floor Machine ในลักษณะงาน Cleaning เงื่อนไขในการรับประกัน ในกรณีนำไปใช้กับเครื่องชาร์จที่มีขนาดกระแสเกิน 10-13 แอมป์ และมีการชาร์จหลายๆครั้ง ต่อวันจะคลอบคลุม การรับประกัน คิดเป็นระยะ เวลา โดยประมาณไม่เกิน 3 ชั่วโมง

จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านผู้มีอุปการคุณโปรดทราบและปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น ทางบริษัท โปรไลน์ ซิสเต็ม จำกัด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะไดรับใช้ทุกท่านในโอกาสต่อไป

การดูแลรักษาแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า

ประกอบด้วยแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น เจล และเทคโนโลยี AGM
การทดสอบ การเติมน้ำกลั่น การทำความสะอาด
การจัดเก็บ การชาร์จไฟ การชาร์จซ้ำ

ขั้นตอนง่ายๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่

เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณต้องการประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนซื้อแบตเตอรี่ เราอยู่ตรงนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของคุณ แบตเตอรี่ TROJAN- Dyno- US battery คือแบตเตอรี่ตะกั่วกรดมานานมากกว่า 3 ชั่วอายุคน กุญแจสำคัญของประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด และระยะเวลาให้งานที่ยาวนาน คือการดูแลรักษาแบตเตอรี่อย่างจริงจัง และขั้นตอนการบำรุงรักษา ดังที่สรุปไว้ในคู่มือเล่มนี้

การปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆ ที่เราแนะนำจะทำให้คุณได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุนซื้อแบตเตอรี่อย่างแน่นอน

อุปกรณ์

ขอแนะนำอุปกรณ์พื้นฐานในการดูแลและบำรุงรักษาแบตเตอรี่ดังนี้

– กุญแจปากตาย – น้ำกลั่น – เครื่องวัดกระแสไฟ – ไฮโดรมิเตอร์ – ที่ทำความสะอาดตัวยืดแบตเตอรี่

– ผงฟู – จารบีสำหรับแบตเตอรี่ – แว่นตาและถุงมือ

ข้อควรระวัง : ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด สวมถุงมือ และแว่นตา ขณะทำงานกับแบตเตอรี่อิเลคโทรไลต์

การตรวจสอบ

– ตรวจสอบสภาพภายนอกของแบตเตอรี่

– ตรวจสอบรอยแตกที่หม้อแบตเตอรี่

– ด้านบนของแบตเตอรี่ น็อตยึดหม้อแบตเตอรี่ และสายต่อแบตเตอรี่ ไม่ควรมีฝุ่นของเหลวหรือเกิดการผุกร่อน (หาก-  แบตเตอรี่สกปรก โปรดดุรายละเอียดในหัวข้อการทำความสะอาด)

– ทำการแทนที่แบตเตอรี่ที่เสียหาย

– ของเหลวที่อยู่รอบๆ หรือบนแบตเตอรี่อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าอีเลคโทรไลต์ล้นหรือรั่วออกมา

– แบตเตอรี่ที่รั่วต้องได้รับการเปลี่ยน

– ตรวจสอบสายไฟและสายเชื่อมต่อแบตเตอรี่

– ตรวจสอบจุดที่หย่อนยาน หรือเสียหาย

– ทำการแทนที่สายไฟที่ชำรุด หรือเสียหาย

– ขันขั้วให้แน่นตามที่กำหนดไว้ (ด้านล่าง) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายไฟเชื่อมต่อกับขั้วแบตเตอรี่

คำเตือน: อย่าขันขั้วแบตเตอรี่จนแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้น็อตยึดเกิดความเสียหาย หลอมละลาย หรือลุกไหม้

ค่าแรงบิดที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์

แบบเติมน้ำกลั่น 65 ถึง 75 in-lbs
แบบเจล หรือ AGM 90 ถึง 100 in-lbs

การทดสอบค่าความถ่วงจำเพาะ(เฉพาะแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นเท่านั้น)

1. อย่าเติมน้ำกลั่นในทันที

2. เติมน้ำและถ่ายน้ำจากไฮโครมิเตอร์ 2-4 ครั้งก่อนสุ่มตัวอย่างจากแบตเตอรี่

3. เก็บตัวอย่างอิเลคโทรไลต์ให้เพียงพอเพื่อช่วยในการลอยตัวของสาร

4. อ่านค่า บันทึก และคืนอิเลคโทรไลต์กลับสู่เซล

5. ตรวจสอบเซลทุกเซลในแบตเตอรี่ ทำซ้ำขั้นตอนด้านบน

6. ปิดฝาครอบ และเช็ดอิเลคโทรไลต์ที่อาจไหลออกมา

7. ปรับค่าการอ่านไปที่ 80 องศาฟาเรนไฮต์ (26.6 C)

8. ในการอ่านค่าให้เพิ่ม .004 เข้าไปทุก 10 องศาที่เกินจาก 80 องศาฟาเรนไฮต์

9. ให้ลบ .004 ออกจากทุก 10 องศาที่ต่ำกว่า 80 องศาฟาเรนไฮต์

10. ตรวจสอบสถานการณ์ชาร์จไฟ โดยใช้ตารางที่กำหนดในหน้าถัดไป

การอ่านค่าควรอยู่ในระดับที่สูงกว่าหรือระดับเดียวกับค่าที่โรงงานกำหนดระหว่าง 1.277 + / -.007หากการอ่านค่าความถ่วงจำเพาะออกมาต่ำ ให้ปฏิบัติดังนี้ :

1. ตรวจสอบและบันทึกระดับแรงดันไฟฟ้า

2. ชาร์จแบตเตอรี่ซ้ำ (โปรดดูรายละเอียดในหัวข้อ การชาร์จซ้ำ)

3. วัดค่าความถ่วงจำเพาะอีกครั้ง

หากอ่านค่าความถ่วงจำเพาะยังอยู่ในระดับต่ำ ให้ปฏิบัติดังนี้:

1. ตรวจสอบและบันทึกระดับแรงดันไฟฟ้า

2. ชาร์จแบตเตอรี่ซ้ำ (โปรดดูรายละเอียดในหัวข้อ การชาร์จซ้ำ)

3. วัดค่าความถ่วงจำเพาะอีกครั้ง

หากอ่านค่าความถ่วงจำเพาะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าที่โรงงานกำหนด อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุดังต่อไปนี้

– แบตเตอรี่เก่า และใกล้หมดอายุ

– แบตเตอรี่ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ชาร์จเป็นเวลานานเกินไป

– เกิดจากการสูญเสียอิเลคโทรไลต์เนื่องจากการไหลออกมา

– มีเซลล์ที่อ่อนแอหรือชำรุด

– แบตเตอรี่มีปริมาณน้ำมากเกินไปก่อนการตรวจวัด

**แบตเตอรี่ที่เข้าข่ายข้อ 14 ควรนำไปให้ช่างตรวจสอบ หรือเลิกใช้งาน

การตรวจสอบแรงดันไฟวงจรเปิด

1. ในการวัดค่าแรงดันไฟที่แม่นยำ ควรทิ้งแบตเตอรี่ไว้เฉยๆ (ไม่ชาร์จไฟ ไม่ใช้งาน) อย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมงจะเหมาะสมที่สุด

2. ปลดสิ่งเชื่อมต่อทั้งหมดจากแบตเตอรี่

3. วัดแรงดันไฟด้วยมาตรวัดกระแสไฟฟ้า DC

4. ปรับค่าการอ่านไปที่ 80 องศาหาเรนไฮต์

5. ตรวจสอบสถานการณ์ชาร์จไฟจากตารางด้านล่าง

6. ทำการชาร์จแบตเตอรี่หากวัดระดับการชาร์จได้ 0-70%

หากระดับแบตเตอรี่ต่ำกว่าค่าในตาราง อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

– แบตเตอรี่ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ชาร์จเป็นเวลานานเกินไป

– แบตเตอรี่มีเซลที่ชำรุด

**แบตเตอรี่ที่อยู่ในสภาพดังกล่าวควรนำไปให้ช่างตรวจสอบหรือเลิกการใช้งาน**

สถานการณ์ชาร์จที่สัมพันธ์กับค่าความถ่วงจำเพาะและค่าแรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดการเติมน้ำกลั่น

(เฉพาะแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นเท่านั้น)

– ควรเติมน้ำกลั่นทุกครั้งหลังชาร์จแบตเตอรี่จนเต็ม ก่อนการชาร์จ ควรน้ำหล่อทั่วแผ่นธาตุ หากแบตเตอรี่ไม่ได้รับการชาร์จ (บางส่วน หรือทั้งหมด) ระดับน้ำควรอยู่สูงกว่าแผ่นธาตุเช่นกัน

สิ่งสำคัญที่ต้องจดจำ

1. อย่าให้แผ่นธาตุโดนอากาศ

2. อย่าเติมน้ำจนถึงฝาครอบ

3. อย่าใช้น้ำที่มีความเข้มข้นของแร่ธาตุสูง

4. ใช้เฉพาะน้ำกลั่นหรือน้ำที่ปราศจากอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเท่านั้น

ข้อควรระวัง: อิเลคโทรไลต์คือสารละลายที่ประกอบด้วยกรดและน้ำจึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสผิวหนัง

ขั้นตอนการตรวจเช็คน้ำกลั่นแบตเตอรี่ :

1. เปิดฝาครอบ และตรวจดูระดับอิเลคโทรไลต์ ระดับท่ำที่สุดคือด้านบนของแผ่นธาตุ

2. หากมองไม่เห็นน้ำ ให้เติมน้ำจนท่วมแผ่นธาตุ

3. ชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มก่อนการเติมน้ำเพิ่มอีก (โปรดดูรายละเอียดตามหัวข้อ การชาร์จแบตเตอรี่)

4. เมื่อชาร์จเสร็จ เปิดฝาครอบ และตรวจสอบระดับอิเลคโทรไลต์

5. เติมน้ำกลั่นลงไปจนระดับอิเลคโทรไลต์อยู่ต่ำกว่าก้นบ่อเติม 1/8 นิ้ว

6. ทำความสะอาด และปิดฝาครอบกลับคืนให้หนาแน่น

**คำเตือน : อย่าเติมน้ำกรดลงในแบตเตอรี่**

การทำความสะอาด

1. ตรวจสอบฝาครอบว่าปิดสนิท

2. ทำความสะอาดด้านบนของแบตเตอรี่ด้วยผ้าหรือแปรง และสารละลายจากผงฟูและน้ำ อย่าให้สารทำความสะอาดหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในแบตเตอรี่

3. ล้างด้วยน้ำ และเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด

4. ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ และด้านในของตัวยึดไฟด้วยอุปกรณ์ทำความสะอาดตัวยึดและตัวยึดแบตเตอรี่

5. นำตัวยึดกลับคืนที่ขั้วและทาจารบีบางๆ ที่ขั้วแบตเตอรี่

6. ทำความสะอาดพื้นที่รอบๆ แบตเตอรี่ให้สะอาดและแห้ง

การเก็บแบตเตอรี่

– ความเย็นจัด-หลีกเลี่ยงสถานที่ที่เย็นจัด การรักษาแบตเตอรี่ให้มีสถานะ การชาร์จในระดับสูงอยู่เสมอจะช่วยป้องกันความเย็น

– ความร้อน- หลีกเลี่ยงแหล่งความร้อนโดยตรง เช่น แสงอาทิตย์ หรือเครื่องทำความร้อนอุณหภูมิที่สูงกว่า 80  องศาฟาเรนไฮต์จะเป็นตัวเร่งคุณสมบัติการคายไฟของแบตเตอรี่

ขั้นตอนการจัดเก็บแบตเตอรี่

1. ชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มก่อนนำไปเก็บ

2. เก็บแบตเตอรี่ในที่ที่แห้งและเย็น พ้นจากความร้อนและความเย็นจัด

3. ระหว่างการเก็บ ทำการวัดค่าความถ่วงจำเพาะ หรือแรงดันไป

4. แบตเตอรี่ที่ถูกเก็บไว้ควรนำมาชาร์จไฟเมื่อระดับการชาร์จเหลือ 70% หรือต่ำกว่า (ดูตารางด้านล่าง)

5. ชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มก่อนนำมาใช้งาน

6. เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด ควรทำการชาร์จซ้ำก่อนนำกลับมาให้งานอีกครั้ง (โปรดดูรายละเอียดให้หัวข้อการชาร์จซ้ำ)

การชาร์จแบตเตอรี่

การชาร์จแบตเตอรี่อย่างถูกต้องอาศัยการควบคุมปริมาณกระแสไฟให้ถูกต้อง ณ ค่าแรงดันไฟที่ถูกต้อง อุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่ส่วนใหญ่ได้ปรับตั้งค่าเหล่านี้ไว้แล้ว และมีเครื่องชาร์จบางชนิดที่ผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้เอง การชาร์จแบตเตอรี่ที่ถูกต้องคือปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมาจากอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่

สิ่งที่สำคัญที่ต้องจดจำ

1. ทำความคุ้นเคยและปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้ผลิตเครื่องชาร์จ

2. ควรชาร์จแบตเตอรี่หลังการใช้งานในแตะละครั้ง

3. แบตเตอรี่ตะกั่วกรมสามารถนำมาชาร์จไฟใหม่ได้โดยไม่ต้องรอแบตเตอรี่จ่ายพลังงานจนหมด

4. ชาร์จแบตเตอรี่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกเท่านั้น อย่าอยู่ใกล้ประกายไฟและเปลวไฟในขณะชาร์จ

5. ตรวจสอบความถูกต้องของการตั้งค่าแรงดันไฟของเครื่องชาร์จ

6. ตรวจสอบระดับน้ำกลั่น (โปรดดูรายละเอียดในหัวข้อการเติมน้ำกลั่น)

7. ปิดฝาครอบให้แน่นก่อนการชาร์จ

8. อย่าชาร์จไฟเกิน หรือชาร์จไฟน้อยเกินไป

9. อย่าชาร์จแบตเตอรี่ที่เย็นจัด

10. ชาร์จแบตเตอรี่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 120 องศาฟาเรนไฮต์ (48.9C)

การชาร์จซ้ำ

คำเตือน: ห้ามทำการชาร์จแบตเตอรี่แบบเจล หรือ AGM

– การชาร์จซ้ำ คือการโอเวอร์ชาร์จแบตเตอรี่ตะกั่วกรดภาหลังจากการชาร์จไฟจนเต็มแล้ว

– การชาร์จซ้ำช่วยขจัดคราบที่จับตัวเป็นชั้นๆ และการเกิดกรดเกลือซัลเฟรด คือ 2 สาเหตุที่ลดประสิทธิภาพการทำงานของแบตเตอรี่

– TROJAN แนะนำให้ทำการชาร์จซ้ำๆต่อเมื่อพบว่าค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ในระดับต่ำหรือสูง (+/-0.15) หลังการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็ม

ขั้นตอนการชาร์จซ้ำ :

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่เป็นชนิดเติมน้ำกลั่น

2. ปลดสิ่งเชื่อมต่อออกจากแบตเตอรี่

3. ต่อแบตเตอรี่เข้ากับเครื่องชาร์จ

4. ตั้งค่าเครื่องชาร์จไว้ที่แรงดันไฟแบบชาร์จซ้ำ

5. เริ่มชาร์จแบตเตอรี่

6. แบตเตอรี่จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้น

7. ตรวจสอบค่าความถ่วงเฉพาะทุกชั่วโมง

8. การชาร์จซ้ำจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามตาราง

ข้อสังเกต: เครื่องชาร์จหลายรุ่นไม่มีการตั้งค่าการชาร์จ จึงไม่สามารถใช้กับขั้นตอนนี้ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้นเครื่องกวาดพื้น

แบตเตอรี่ Deepcycle 6 โวลท์

แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้น6โวลท์

  ♦ ใช้ กับเครื่องขัดพื้น และเครื่องกวาดพื้นอัตโนมัติอาจใช้แบตเตอรี่ ขนาด 12 โวลท์ 24 โวลท์ และ 36 โวล์ท ซึ่งอาจจะใช้เป็นแบตเตอรี่ก้อนละ 12 โวล์ท 1 ก้อน หรือก้อนละ 12 โวล์ท 2 ก้อนรวมเป็น 24 โวล์ท หรือแบตเตอรี่รวม 36 โวล์ท คือ 6 โวล์ท 6 ก้อน หรืออาจจะเป็นก้อนละ 12 โวล์ท 3 ก้อน รวมเป็น 36 โวล์ท และแอมป์ที่เครื่องต้องใช้ตามสเปคของเครื่อง

 

เครื่องชาร์จแบตเตอรี่

เครื่องชาร์แบตเตอรี่เครื่องขัดพื้น

  ♦ การคำณวนเพื่อหาเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่ เหมาะสมไม่ควรเกิน 15 % ของค่าแอมป์ของแบตเตอรี่ โดยนำค่าแอมป์ Ah ของแบตเตอรี่คูณ 13 – 15 % จะได้ค่าแอมป์ของเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ การชาร์จแบตเตอรี่แบบช้าจะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ยิ่งใช้ระบบชาร์จเร็วมากเท่าไรแบตเตอรี่ก็จะยิ่งเสื่อมเร็ว ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ขนาด 105 Ah x 13 % = 13.65 หมายถึง เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่เหมาะสมต้องไม่เกิน 13.65 แอมป์ ทั้งแบบ 12 โวลท์ และ 24 โวลท์

วิธีใช้เครื่องชาร์จชนิดตู้แยกกับแบตเตอรี่ Deep cycle

1. ตรวจดูแรงดันกระแสสลับ , จำนวนเพส และแรงดันของแบตเตอรี่ให้ตรงกับเครื่องชาร์จ

2. ตั้งสวิทซ์ AUTO – MANUAL มาที่ตำแหน่ง AUTO /ตั้งสวิทซ์แบตเตอรี่ชนิดแห้ง-น้ำให้ตรงกับชนิดของแบตเตอรี่ที่จะชาร์จ แล้วเสียบปลั๊กไฟเข้า 220-240 โวลท์

3. เสียบปลั๊กไฟออกเข้ากับปลั๊กของแบตเตอรี่, เปิดสวิทซ์ไฟเข้า หลอดไฟ E จะสว่าง แสดงว่าเครื่องกำลังทำการชาร์จ (ถ้าไม่มีปลั๊กให้คับขั้วแบตเตอรี่ให้ถูกกับขั้ว (ดำ+แดง)

3.1. ถ้าต่อกลับขั้ว หลอดไฟ reverse/FALL(แดง) จะสว่าง และเสียงบัชเชอร้อง ให้รีบแก้ไขทันทีโดยกลับขั้วใหม่ให้ถูกขั้ว( บวกต่อเข้าขั้วบวก, ลบต่อเข้าขั้วลบ)

3.2. ถ้าแบตเตอรี่มีแรงดันไม่ตรงกับเครื่องชาร์จ เช่น เครื่องชาร์จ 12 v ต่อกับแบตเตอรี่ 6v หรือ 24 v เครื่องจะไม่ทำการชาร์จและหลอดไฟทุกดวงจะไม่สว่าง

4. เมื่อแบตเตอรี่ไฟเต็มหม้อ เครื่องจะหยุดชาร์จ หลอดไฟ” full”(เขียว) จะสว่าง และถ้าปล่อยทิ้งไว้เครื่องจะย้อนกลับมาชาร์จใหม่เพื่อให้แบตเตอรี่เต็มตลอดเวลา

5. ถ้าแบตเตอรี่ไฟหมดเกลี้ยงหม้อ เครื่องจะไม่เริ่มต้นชาร์จให้ปิดสวิทซ์ไฟเข้าก่อน แล้วเลื่อนสวิทซ์ AUTO – MANUAL มาที่ตำแหน่ง MANUAL ปล่อยให้ชาร์จทิ้งไว้ 1-2 ชม. แล้วจึงเลื่อนมาที่ AUTO ใหม่ (ในตำแหน่ง MANUAL เครื่องจะชาร์จตลอดเวลาทุกกรณี แม้ว่าแบตเตอรี่จะเต็มไปแล้วก็ตาม และไม่หยุดชาร์จ ไม่ว่าจะกลับขั้วหรือไม่ หรือแบตฯไฟเต็มอยู่แล้ว หรือแบตฯแรงดันผิดขนาด ซึ่งการชาร์จกลับขั้วและแรงดันผิดขนาดใน Mode Manual จะทำให้เครื่องข๊อตไหม้ ดังนั้นผู้ใช้ต้องคอยระมัดระวังเป็นพิเศษ)

6. เมื่อแบตเตอรี่ไฟเต็มหม้อแล้วเครื่องจะหยุดชาร์จ หลอดไฟ FULL จะสว่าง

7. เมื่อจะเลิกชาร์จให้ปิดสวิทซ์ไฟเข้า แล้วจึงถอดปลั๊กไฟออก หรือถอดกิ๊ปออกจากแบตเตอรี่8. ควรชาร์จแบบ Equalize ทุกๆ 7 วัน หรืออย่างน้อยทุก ๆ 1 เดือน และชาร์จในวันสุดสัปดาห์โดยกดสวิทซ์ Equalizng ขณะเริ่มชาร์จ (รอจนหลอดไฟ EQ สว่าง )

– เครื่องชาร์จตัดการทำงานอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม

– เครื่องชาร์จจะรีชาร์จอัตโนมัติเพื่อให้แบตเตอรี่ชาร์จเต็มอยู่เสมอ

การแสดงผลของไฟโชว์

ไฟสีเขียว – ชาร์จเต็มแล้ว และจะกระพริบหลังจาก 30 นาที

ไฟสีน้ำเงิน – 80% ของการชาร์จ

ไฟสีแดง+กระพริบ – ชาร์จไม่สำเร็จ ชาร์จไม่เข้า

ไฟสีแดง – เสียบไฟกลับขั้ว/การชาร์จล้มเหลว

ระบบป้องกันของเครื่องชาร์จ

1. หน่วงเวลา 3 วินาที หลังจากเสียบปลั๊กหรือต่อพ่วงการชาร์จเพื่อป้องกันการสปาร์ค

2. มีระบบ Input Circuit Breaker

3. ป้องกันการต่อพ่วงขั้วแบตฯกลับข้าง

4. ระบบ safety timer 12 hrs ตัดระบบอัตโนมัติภายใน 12 ชั่วโมงถึงแม้แบตฯจะยังไม่ชาร์จเต็ม